อ.เพร้าว จ.เชียงใหม่ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศมอบอุปกรณ์การเรียนร่วมสร้างฝาย
26 พฤษภาคม 2565 ทางพลตรี ชำนาญ ช้างสาต ผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และพันเอก กฤศ ศิริพงศ์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่32 สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำคณะนักศึกษาสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ รุ่นที่ 122 เข้ามาศึกษาเรียนรู้แนวทางการพัฒนา บวร แบบยั่งยืน โดยชาวบ้านเยาวชนร่วมกับภาครัฐ ทหาร การปกครอง ป่าไม้ อุทยานฯ พระสงฆ์ ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ ทำกิน ทั้งป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติกลับมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และการประกอบอาชีพของชาวบ้านที่ยั่งยืน ทางพระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร. เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำสวดมนต์ตามหลักพระศาสนาพุทธ แล้วบรรยายเรื่องการพัฒนาหมู่บ้าน (บวร)ว่ายุคก่อนนั้นมีความแห้งแล้งจัดยามหน้าแล้ง น้ำท่วมหน้าฝน ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนถ้วนหน้าลงทุนปลูกพืชก็ขาดทุน ไม่มีน้ำพอเพียง ในหน้าฝนก็จะท่วมจนเน่าเสียหาย ทหารหน่วยพัฒนาการ
เคลื่อนที่ 32 ร่วมกับชาวบ้าน พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ป่าไม้ อุทยานฯ ร่วมกันเพื่อพัฒนาขอร้องห้ามบุกรุกป่าและร่วมสร้างป่า ด้วยความสามัคคี ไม่เกิน3ปี พื้นที่ มีน้ำพอใช้ในหน้าแล้ง ถึงหน้าฝนก็เกิดอุทกภัยน้อยมาก ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขถึงทุกวันนี้และต่อไปในอนาคต จากนั้นพลตรี ชำนาญ ช้างสาต ผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้ ทำการมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับโรงเรียนชาวไทยภูเขาหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32 สมาททีวี 55 นิ้ว จำนวน2 เครื่อง เก้าอี้ พร้อมโต๊ะนักเรียน 80 ชุด และชุดวอร์ม นักเรียน 124 ชุด โต๊ะปิงปอง 1 ตัว อุปกรณ์กีฬาอีกจำนวนหนึ่ง และมอบทุนให้วิทยาลัยอาชีพฝางที่มาช่วยจัดนักศึกษามารับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์และเครื่องมือใช้งานเกษตรกรรม ให้กับประชาชนในพื้นที่บ้านหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด แล้วได้เดินทางไปร่วมทหาร นพค 32 ทำการสร้างฝายชะลอน้ำที่ห้วยแล้ง บ้านหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด ซึ่งทางทหาร ชาวบ้านฝ่ายปกครอง อบต ได้สร้างมาทุกปี หลายสิบฝาย เพื่อเก็บน้ำสร้างความชื้นให้ป่าทำให้ต้นไม้ต้นเล็กๆสามารถเติบโตได้เพิ่มจำนวนต้นไม้จำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งในป่านี้มีความหนาแน่นของต้นไม้มากขึ้นทุกปีและยังป้องกันไฟป่าได้อย่างดี โดยให้นักศึกษาตักดินหินในพื้นนที่นำมาทับในตะแกรงเหล็กเพื่อเก็บน้ำและป้องกันการพังทะลายของตัวฝาย ในการมาศึกษาดูงานของจริงพื้นที่จริงๆเพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลน ส่งเสริมค่านิยมจิตอาสาสร้างจิตสำนึกที่ดีมีจิตสาธารณะรู้คุณค่าของการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อเกิดความรักสามัคคี ประสานการปฏิบัติงานในลักษณะเครือข่ายมีส่วนร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนระดับพื้นที่
นายสำราญ แสงสงค์ รายงาน