พะเยา – ไทลื้อเชียงคำ จัดงาน “ สืบเต๊าะฮีตฮอยไตลื้อ “สักการะไหว้ศาลเจ้าพ่อ เจ้าฟ้าเจียงแข็ง

admin2

พะเยา – ไทลื้อเชียงคำ จัดงาน “ สืบเต๊าะฮีตฮอยไตลื้อ “สักการะไหว้ศาลเจ้าพ่อ เจ้าฟ้าเจียงแข็ง

วันนี้ ( 4 มิ.ย.2565 ) ที่ศาลเจ้าพ่อเจียงแข็ง บ้านดอนไชย ม.5 ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้มีกลุ่มชาวไทลื้อใน อ.เชียงคำ พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าอย่างสวยงามทั้งหญิงและชาย เพื่อสักการะไหว้ศาลเจ้าพ่อ เจ้าฟ้าเจียงแข็ง (เจ้าเด็กน้อย) ซึ่งเป็นผู้นำชาวไทยลื้ออพยพจากเมืองสิบสองปันนา ประเทศจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ใน อ.เชียงคำ ได้สืบเชื้อสายลูกหลานชาวลื้อจนมาถึงปัจจุบัน  ,

นายประเทือง กองมงคล ประธานสภาวัฒนธรรม อ.เชียงคำ เปิดเผยว่า “ สืบเต๊าะฮีตฮอยไตลื้อ สองมือจั๊กเคอ ถ๊กเคอหาโหนย ” หมายถึงการรำลึกอดีตของคนไทลื้อ ด้วยการสืบค้นไปหาต้นตอบรรพบุรุษและน้อมระลึกถึงบรรพชนซึ่งชาวไทลื้อทางอำเภอเชียงคำ ได้ถือเอาเดือน 8 เหนือ ซึ่งประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปีมารวมตัวกันเพื่อระลึกรากเหง้าตนเอง รวมถึงสืบสานงานพิธีสักการะไหว้สา เจ้าฟ้าเจียงแข็ง โดยผู้ที่มาร่วมงานจะแต่งตัวตามแบบชาวไทลื้อเหมือนสมัยก่อนอย่างสวยสดงดงาม

นายสุบิน กองมงคล อายุ 73 ปี “ข้าวจ้ำ” หรือผู้ประกอบพิธีกรรม เผยว่า พิธีข้าวจ้ำเป็นการสื่อสารกับเทวดาเจ้าฟ้าบนสวรรค์ ว่าท่านได้รับอาหารคาวหวาน ของเซ่นไหว้ต่างๆ จนเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ กระทำได้โดยการอธิษฐานจิตพร้อมกับหยิบข้าวสารที่ใส่ในถ้วยออกมาเพื่อทำการเสี่ยงทาย โดยสังเกตได้จากการนับเมล็ดข้าวสาร หากว่าจับคู่ของเมล็ดข้าวสารแล้วเหลือเศษ 1 เมล็ด แสดงว่า ท่านยังเสวยไม่อิ่มและต้องการจะเสวยต่อ ก็จะทำการตักข้าวปลาอาหารเพิ่มเติมลงไปในถ้วยซ้ำอีก พร้อมกับถวายอาหารให้กับคนเลี้ยงช้างม้าที่เป็นบริวาร จากนั้นก็เริ่มทำการเสี่ยงทายต่อ จนหยิบข้าวสารที่เสี่ยงทายนับออกมาเป็นคู่จนไม่มีมีเศษ นั่นแสดงว่า ท่านพึงพอใจ และการทำเกษตรหรือการทำมาค้าขายจะประสบผลสำเร็จ

สำหรับกิจกรรมในงาน มีการบวงสรวงเจ้าฟ้าเจียงแข็ง การอัญเชิญและเสี่ยงทายข้าวจ้ำ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ เช่น ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ ตีกลองบูจา(บูชา) การขับลื้อ การฟ้อนรำของหญิงไทยลื้อ ซึ่งมีลีลาท่วงท่าอ่อนช้อย งดงามตามเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทลื้อ สิบสองปันนาและปิดท้ายด้วยการจับสลากเพื่อให้รางวัลผู้ที่มาร่วมงานบุญในปีนี้คือ หมายเลข 120 และ 60

ชาวไทยลื้อใน อ.เชียงคำนั้น มีเจ้าเมืองหลายท่านมาตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆในเชียงคำ ทางเจ้าเมืองเจียงแข็งเองท่านเห็นว่าที่ตรงบ้านดอนไชยนี้เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เพราะมีลำน้ำญวน ลำน้ำอิงไหลผ่าน ดินดีอุดมสมบูรณ์ จึงลงหลักปักฐานนำชาวบ้านมาอาศัยอยู่ จนถึงปัจจุบันลูกหลานของเจ้าเมืองเจียงแข็ง สืบสกุลอย่างมากหลายใน อ.เชียงคำ และถิ่นฐานใกล้ไกล ลูกหลานก็ยังได้รำลึกถึงคุณงามความดีของท่านมาโดยตลอดด้วยการจัดงานสักการะท่านจวบจนถึงปัจจุ

 

Next Post

จ มุกดาหาร จาก อ หาดใหญ่ จ สงขลา สคอ สสส จับมือเครือข่าย สร้างทางม้าลายแห่งแรกของเกาะลิบง ร่วมป้องกันอุบัติเหตุทางถนน จ.ตรัง เครือข่ายลดอุบัติเหตุจับมือภาคีลงพื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง - ชู 6 ส. สร้างความปลอดภัยชุมชน พร้อมจัดกิจกรรมทาสีทางม้าลายหน้าโรงเรียนแห่งแรกของเกาะ หนุนเพิ่มความตระหนักขับขี่ปลอดภัย ลดเร็ว ลดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ ที่ ต.เกาะลิบง อ.กันตรัง จ.ตรัง- สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ศึกษาดูงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง เพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานและแนวทางการป้องกันแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนของพื้นที่ ร่วมศึกษาการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายสู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย พร้อมระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ผลักดันเป็นมาตรการสร้างความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า สคอ.พร้อมคณะสื่อมวลชนและเครือข่าย ได้แก่ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมสื่อช่อสะอาด สถานีโทรทัศน์ ไทย เคเบิล บรอดแคสติ้ง ช่อง 37 HD และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ร่วมลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้การทำงานด้านป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้รูปแบบการทำงานในวิถีท้องถิ่นของคนบนเกาะที่มีพื้นที่เฉพาะ ศึกษวิธีการทำงานด้านลดอุบัติเหตุในพื้นที่ เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวปลอดภัย และการเชื่อมโยงคนในชุมชนด้วยผู้นำศาสนาที่กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชุมชนทุกมิติ นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนร่วมกับคนในชุมชน ด้วยการทาสีทางม้าลายบริเวณหน้าโรงเรียนเพื่อลดจุดเสี่ยงเวลาเด็กนักเรียนมาโรงเรียน และทำให้ผู้ขับขี่ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยเมื่อเห็นทางม้าล้ายต้องชะลอความเร็ว ทั้งนี้ได้กำหนดไว้ 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ม. 1 บ้านโคกสะท้อน และโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ ม.4 บ้านบาตูปูเต๊ะ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ทั้งนี้การที่ สคอ.และเครือข่ายในพื้นที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันจะทำให้คนในชุมชนได้เกิดการตื่นตัว เห็นความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุในพื้นที่ตนเองมากขึ้นและที่สำคัญถือเป็นการเริ่มต้นการมีทางม้าลายแห่งแรกของเกาะลิงบงอีกด้วย นายสิทธิพร จิเหลา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง กล่าวว่า ตำบลเกาะลิบงมี 8 หมู่บ้าน ประชากร 7,422 คน 2,272 ครัวเรือน ประกอบอาชีพประมงและกรีดยาง คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้นำศาสนามีบทบาทสำคัญมากในพื้นที่และมีโรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง โดยเรื่องความปลอดภัยของคนในชุมชน เป็นบทบาทหน้าที่สำคญของท้องถิ่นที่จะต้องเข้าไปดูแล ได้แก่ ด้านถนน ทาง อบต.ได้ให้งบสร้างถนนคอนกรีต 3 สาย ยาวกว่า 20 กิโลเมตร แต่ก็ยังเหลือหมู่บ้านที่เป็นถนนลูกรังเพราะถนนไม่ได้อยู่ในการดูแลของอบต. จึงไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ ด้านอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ตํารวจรับแจ้งเหตุและตรวจท้องที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ด้านการท่องเที่ยว ได้จัดระเบียบบริเวณท่าเรือ แก้ปัญหาจราจร โดยทำ MOU กับชุมชน ทุกคนที่มีรถและเดินทางมาในบริเวณท่าเรือต้องจอดรถตามจุดที่ให้จอดเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนจะมีการตักเตือน ด้านป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในพื้นที่เกาะลิบง ยังมีจุดเสี่ยงหลายแห่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขประมาณ 4-5 จุด เช่น บริเวณหน้าโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ผู้ขับขี่มักใช้ความเร็วสูงเพราะถนนโล่ง และไม่มีทางม้าลายให้คนข้าม ส่งผลให้เด็กนักเรียนเสี่ยงอันตรายเวลาข้ามถนน ซึ่ง อบต.กำลังเร่งแก้ไขปรับปรุง นายสิทธิพรฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้กฎหมายเข้มกับคนบนเกาะทำได้ยาก ต้องปรับเป็นสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ถึงความสำคัญจึงจะทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้น ช่วงที่ผ่านมาอุบัติเหตุในพื้นที่มีน้อย เดือนละ 1-2 ครั้ง บางเดือนไม่มีเลย ส่วนใหญ่ที่เกิดเป็นนักท่องเที่ยว เช่ารถจักรยานยนต์ขี่เอง และไม่ชำนาญทางทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย และกรณีเสียชีวิตเคยเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยวัยรุ่นในพื้นขับเร็วและไม่ใส่หมวกกันน็อคเกิดเฉี่ยวชนกับคู่กรณีที่ขี่จักรยานยนต์เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ ไม่สนใจทาง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุชนอย่างแรงทำให้เสียชีวิต 1 ราย หลังจากนั้นก็ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในพื้นที่อีกเลย นางไพรัช วัฒนกุล เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จ.ตรัง กล่าวว่า กว่า 10 ปี ที่ตนเองทำงานในพื้นที่คนในชุมชนพบว่า คนเกาะลิบงมีอัธยาศรัยดีเป็นกันเอง พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้นำมีความเข้มแข็ง มีการทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่เป็นอย่างดี และเมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว ทางเครือข่าย สสส. ได้ลงไปเปิดเวทีความคิด นำคนในชุมชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พาไปศึกษาดูงานแล้วนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง จนทำให้เกาะลิบงพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปในที่ดีขึ้น สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ของชุมชนเองได้ เกิดความร่วมมือคนในชุมชนที่เข้มแข็ง เชื่อมโยงภาคีได้ดี จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยเกือบทุกด้าน เกาะลิบงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะวันหยุด นอกจากนี้ยังมีแบบโฮมเสตย์ ที่ทางุชมชนควบคุมราคาไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยว มีการทำข้อตกลงร่วมกันในคนชุมชนที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจและได้รับบริการที่ดีกลับไป สำหรับข้อแนะนำนักท่องเที่ยวที่จะมาเกาะลิบง จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ห้าม 6 ส.ได้แก่ สุนัข สุกร สายเดี่ยว สุรา ยาเสพติด และนุ่งสั้น หากนักท่องเที่ยงนุ่งสั้นหรือแต่งกายล่อแหลม ก็จะให้แต่งกายให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันอาชญากรรม เกือบทุกหมู่บ้านจะห้ามดื่มและจำหน่วยสุรา ยกเว้นบางพื้นที่ที่เป็นรีสอร์ทเอกชน ปัจจุบันเกาะลิบง ได้มีการพัฒนาและขยายเครือข่ายการทำงาน เช่น การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย การใส่หมวกกันน็อค ฝึกอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และจัดการขยะในพื้นที่ จากความร่วมมือ ร่วมใจของทุกฝ่ายที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ สร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับชุมชนทุกมิติ ส่งผลให้ปัจจุบันเกาะลิบงได้กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยที่มีความเข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป ภาพโดย ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ เรียบเรียง โดย สุดารัตน์. คนไว เหยี่ยวข่าวยอดพระยมรายงาน

เครือข่าย สร้างทางม้าลายแห่งแรกของเกาะลิบง ร่วมป้อ […]

You May Like

ข่าวภูธร