อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมสถานที่จัดลอยกระทงแบบล้านนา 18 ตุลาคม 2565 บ้านริมฝาง หมู่ที่9 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านได้ร่วมแรงจัดสถานที่ สร้างกระทงสัญญาลักษณ์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทั่วประเทศไทยมีขนบประเพณีอันดีงามมาช้านาน ในการร่วมแรงกันเพื่ออำนวยความสะดวกสะบายให้ชาวบ้านมาลอยกระทงขอขมาเจ้าแม่คงคาตามความเชื่อว่าได้ใช้น้ำมาทั้งปีอาจจะทำอะไรไม่ดีต่อน้ำจึงมาขอขมากันในคืนวันเพ็ญตามประเพณี
วันลอยกระทงถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของคนไทย จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งมักจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา จึงมักจะเห็นในหลายพื้นที่จัดงานเทศกาลลอยกระทงตามบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ ตำนานกล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยนำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบัน ภาคเหนือ มักนิยมทำโคมลอย จึงเรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึง การทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) ชาวบ้านบ้านริมฝางได้ร่วมอนุรักษ์ให้สืบสานกันต่อไปถึงลูกหลานทำกันทุกปี ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ผู้นำชุมชน ตลอดชาวบ้านชายหญิงร่วมแรงร่วมใจมาจัดเตรียมงานก่อนที่จะถึงวันลอยกระทงจริง จัดที่แม่น้ำฝาง บ้านริมฝาง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเขียงใหม่ในวันที่7-8-9 พฤศจิกายน2565 นี้