กาญจนบุรี – แปลกแต่จริงฝูงปลานับล้านย้ายถิ่นที่[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=dhN_6APf35E[/embedyt]อยู่ใหม่หาดูยาก!! เยาวชนบ้านสะเนพ่อง ร่วมเรียนรู้พฤติกรรมการขึ้นวางไข่ของปลาตะพากส้ม ในลำห้วยโรคี่ กลางป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อต่อยอดเก็บข้อมูลเพื่อเรียนรู้สู่การอนุรักษ์ วันนี้ 19 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพปลาตะพากส้ม จำนวนหลายพันตัวที่จับคู่ผสมพันธุ์และขึ้นมาวางไข่ บนเกาะแก่งกลางลำน้ำที่ลำห้วยโรคี่ บริเวณชายป่าบ้านสะเนพ่อง หมู่ที่2 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันตก ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นทุกปี ในช่วงนี้(มีนาคม-เดือนพฤษภาคม) ในลำห้วยโรคี่ ที่มีปลาตะพากส้ม เป็นปลาประจำถิ่น อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์ ปลาตะพากส้ม อยู่ในสกุลเดียวกับปลาตะเพียนขาว ลำตัวจะมีสีเหลืองทอง บริเวณส่วนหลังจะมีสีเข้ม น้ำเงินอมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง เป็นปลาน้ำจืด ที่พบเจอได้ทั่วไปในลุ่มน้ำทางภาคตะวันตกของประเทศไทย
นายสมพร เมาศรี เยาวชนโครงการ one community ที่ศึกษาความหลายหลายของพันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำในลำห้วยโรคี่ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าปกติในลำห้วยโรคี่ จะพบเห็นปลาตะพากส้ม วางไข่ได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน โดยปีที่ผ่านมา จำนวนปลาที่ขึ้นวางไข่ที่พบไม่มากเท่าปีนี้ ทั้งนี้เป็นผลจากการชาวบ้านให้ความร่วมมือกันอนุรักษ์และประกาศพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลาของหมู่บ้าน พร้อมตั้งกฎกติการร่วมกันโดยขณะผสมพันธุ์ ปลาจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และเบียดเสียดกันขึ้นแก่งโดยปลาตเพศเมียซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่าจะแสดงอาการสะบัดหางและตีน้ำให้กระจายก่อนจะปล่อยไข่ออกมาจากตัว ปลาตัวผู้ที่มีขนาดเล็กกว่าจะรีบปล่อยสเปิร์มออกมาผสม ซึ่งการขึ้นวางไข่ของปลาจะใช้เวลานาน 4-5 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนปลา สภาพอากาศ และการถูกรบกวนจากคนและสัตว์จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่าปกติปลาที่นี่จะวางไข่ในช่วงเดือน ต้นเดือนมีนาคม-ปลายเดือนเมษายน ขึ้นอยู่สภาพอากาศ ความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม และจากสถิติพบว่าวันที่ปลาออหรือปลาขึ้นแก่งวางไข่ มักเกิดขึ้นในช่วงวันพระขึ้น15ค่ำหรือแรม15ค่ำ ในวันที่ท้องฟ้าครึ้ม มีเมฆปกคลุม อากาศชื้น อบอ้าวแต่ไม่มีฝนตกลงมา
ส่วนการมาชมปลาวางไข่ ต้องไม่ส่งเสียงดัง เพื่อให้ปลาได้วางไข่ได้อย่างเต็มที่ ต่อจากนี้ในระยะเวลาภายใน 7 วัน ไข่ปลาจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงจนเป็นตัวอ่อน ซึ่งในช่วงเวลา 7 วันอันตรายนี้ จะมีการประกาศไม่ให้มีการมารบกวนพื้นที่ที่ปลาวางไข่ พร้อมมีการจัดเวรยามเข้ามาคอยดูแล เพื่อไม่ให้มีการรบกวนแก่งที่ปลาวางไข่ไว้ จากร่วมร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนปลาตะพากส้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง …เสียงขณะที่นายเพื่อชาติ เสตะพันธุ์ 1 ในแกนนำเยาวชนกลุ่ม one community บ้านสะเนพ่อง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ในตำบลไล่โว่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งเรื่องป่าและสัตว์ป่า จึงทำเกิกิจกรรมหลากหลายกิจกรรมในกลุ่มเยาวชน เช่นในพื้นที่บ้านทิไล่ป้า ม 5 ต.ไล่โว่ เป็นพื้นที่เดียวที่พบปลาสะแงะหรือปลาตัวหนา ในลำห้วยแม่กะสะ เยาวชนที่นั่นจึงทำการศึกษาเรื่องปลาสะแงะ ขณะที่บ้านเกาะสะเดิ่ง ม 3 ต.ไล่โว่ เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงิอกหลายสายพันธุ์ เยาวชนบ้านเกาะสะเดิ่งจึงศีกษาเรื่องนกเงือกโดยขณะที่บ้านสะเนพ่อง มีปลาหลากหลายชนิดในลำห้วยโรคี่ โดยเฉพาะปลาตะพากสัม ซึ่งเป็นปลาประจำถิ่นที่มีพฤติกรรมการวางไข่ที่น่าสนใจ เราจึงสนใจศึกษาเรื่องปลาตะพาก ด้วยการติดตามพฤติกรรมการวางไข่ จำนวน แหล่งอาศัย เพื่อการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ ที่สำคัญเพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งอาหารประเภทโปรตีน ที่ทุกคนเข้าถึง ตามกฎกติกาการหาอยู่หากินของหมู่บ้านโดยที่นี่ชาวบ้านจะจับปลาเพื่อด้วยวิธีการตกเบ็ด วางไข่ เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น และมีพื้นที่การอนุรักษ์พันธุ์ปลาในลำห้วยโรคี่ ที่เริ่มตั้งแต่ท่าน้ำหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านสะเนพ่องจนถึงท่าข้ามเหนือหมู่บ้านระยะทางกว่า 3 กม เป็นเขตที่ประกาศห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะท่าน้ำวัดสะเนพ่อง ซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาประจำถิ่นของหมู่บ้านที่มีปลาน้ำจีดหลายชนิดรวมกันอยู่นับหมื่นตัว..เสียงปลาลาตะพากส้ม, ปลาจาด หรือ ปลาจาดแมลคัม เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
จัดเป็นปลาที่มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า แต่ขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน มีลำตัวกว้างและแบนข้าง เกล็ดค่อนข้างใหญ่ จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 26 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบหางเป็นแฉกลึกและยาวมากกว่าความยาวหัว ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ลำตัวมีสีขาวเงินสะท้อนแสง และมีลายดำเชื่อมต่อกันระหว่างเกล็ดดูคล้ายตาข่ายปลาตะพากส้มแพร่ขยายพันธุ์โดยมนุษย์เป็นครั้งแรกจากการผสมเทียมจากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดเพชรบุรี พบว่าวางไข่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ไข่เป็นประเภทไข่ติด มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ที่แม่น้ำเพชรที่จังหวัดเพชรบุรี และแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก และแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ที่พบบ่อยคือแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ – รายงาน