อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พิธีหล่อเจ้าเมืองฝางองค์[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=G0b4cmKMWCU[/embedyt]สุดท้าย 2 กรกฏาคม 2566 พระครูสุจิตตานุรักษ์ ดอกเตอร์(แก้ว ทนฺตจิตฺโต) เจ้าคณะอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับญาติธรรมได้จัดเททองหล่อพระและเจ้าหลวงเมืองฝาง โดยทางว่าที่ร้อยตรีนพรัตน์ ศุภกิจโกศล นายอำเภอฝาง จังหวัดเขียงใหม่ เป็นประธานเททองหล่อพระคู่บารมีและเจ้าหลวงเมืองฝาง ปกครองเมืองฝางในอดีต คือเจ้าหลวงมหามหิทธิวงษาไชยราชาธิบดีเจ้าหลวงเมืองฝาง ประสูต พศ 2370 ณ คุ้มเวียงแก้ว ใจกลางเมืองเชียงใหม่ นามเดิม เจ้ามหาวงค์ เป็นเจ้าหลวงเมืองฝางใน พศ 2398 ถึง พศ 2459 (คุ้มเจ้าหลวงเมืองฝางตั้งอยุ่ที่สันดอย บริเวณที่สร้างศาลาธรรม วัดดอย หลังอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยในปัจจุบัน โดยมีกำแพงเมืองฝางชั้นในกั้นล้อมรอบอยุ่ )เป็นเจ้าหลวงเมืองฝางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัว รัชกาลที่6 เจ้าเมืองฝางเป็นราชบุตรของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าบุญทา)เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่5กับพระนางพิมพา(ปิมปา)ราชเทวี เป็นหลานของพระเจ้าธัมลังกา เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่2และเป็นเหลนของเจ้าชายแด้ว เจ้าหลวงลำปาง องค์ที่2 เป็นเหลนของพระเจ้าสุละวฤาไชยเจ้าหลวงลำปางองค์ที่1 นับเป็นเชื้อขัตติยะ สายตรงของราชวงค์เชื้อเจ้าเจ็ดตน มี มเหสี2องค์ องค์แรก เจ้าแม่อุบลวรรณา ราชธิดาเจ้ากาวิโลรสและแม่เจ้าอุสา มีบุตรธิดา3องค์ 1เจ้าราชบุตรคำแดงประสุต พศ 2398 สิ้นชีวิต 2446และมีบุตรชายชื่อเจ้าจอมมิ่ง ประสุต้มื่อ พศ 2431 ที่เมืองฝาง จนสิ้นชีวิต 2เจ้าราชบุตรสุขเกษม ประสูต พศ 2414 รับราชการต่อมารับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าอุตรการโกศล สิ้นชีวิต พศ 2456 อายุ43ปี 3เจ้าหญิงรสสุคนธ์ได้สมรสกับเจ้าสิงห์คำ ราชบุตรเจ้าอินทวิชยานนท์ มเหสีองค์ที่สอง แม่เจ้าแก้วกัลยา ไม่ระบุบุตรธิดา เจ้าหลวงเมืองฝางมีผลงาน จัดระบบการปกครองเมืองฝางที่เรียกส่า”เจ้าขัน5ใบ”เจ้าหลวงเมืองฝาง เจ้าอุปราชสุริโยยศ หอหน้า เจ้ามหาพรหม เจ้าราชวงค์คำตั๋น และเจ้าราชบุตรคำแดง นอกจากนี้ยังมี”ขุนนางเค้าสนาม”รองลงมาดีงปรากฏหลักฐานหนังสือติดต่อความว่า ถึงเจ้าหลวงเมืองฝางและเจ้าคุณท้าว พระแสน 12 เหนือสนามเมืองฝางทั้งมวล จัดพัฒนาด้าน
การเกษตร บริเวณที่ทำการเพาะปลูกสถานที่หลักๆบริเวณแม่นาวางหนองบัวม่อนปิ่น ไชยปราการจัดทำฝายขุดคลองทดน้ำ มีพิธีลงแขกทำนา จัดสร้างหลองข้าวหลวง(ยุ้งข้าว)เก็บใว้สำหรับแจกจ่ายข้าวให้ชาวบ้านในยามขาดแคลน ได้อนุญาตให้หัวเมืองต่างๆทางเหนือของเมืองฝางที่เคยขึ้นต่อเมืองฝางตั้งแต่สมัยพระเจ้ามโหตรประเทศให้มีอิสระในการที่จะเลือกเข้ากับฝ่ายไหนก็ได้ในคราวที่จัดทำแผนที่แบ่งเขตแดนบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ และได้นำชฏาและดาบกัญชัย ซึ่งเป็นเครื่องสำคัญประจำตำแหน่งเจ้าหลวงให้เจ้าอินทวิชยานนท์ เพื่อใช้นำเข้าร่วมพิธีตำแหน่งเจ้าหลวงอย่างเป็นทางการและเป็นที่ยอมรับของชาวเชียงใหม่ เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกเป็นภาษาล้านนา ท่านได้รับพระราชทานเป็น รองอำมาตย์เอก พระนาม พระยามหามหิธิทธิวงษา จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว พศ 2434 ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระยากับเจ้านายเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน อีก4องค์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฏสยาม ชั้นที่5 วิจิตราภรณ์ ในวันที่24 มกราคม 2442 เจ้าหลวงมหามหิทธิวงษาไชยราชาธิบดีเจ้าหลวงเมืองฝาง ได้พัฒนาบ้านเมืองรุ่งเรืองในทุกด้านในสมัยนั้นที่ท่านปกครองเมืองฝางและยังนำสิ่งที่ดีมาใช้จนถึง ปัจจุบันนี้ ทางบุตรลูกบุตรหลานทั้งหมดญาติๆและประชาชนชาวบ้านเมืองฝางได้ร่วมกันจัดพิธีหล่อองค์เท่าองค์จริงเพื่อนำประดิษฐานยังพื้นที่เมืองฝางสมัยโบราณซึ่งเป็นบริเวณวัดพระบาทอุดม(วัดน้ำบ่อซาววา)หรือคนเมืองล้านนาเรียกวัดดอยนำ้บ่อซาววาแล้วยังได้หล่อพระอีกสององค์ซึ่งเป็นพระคู่บารมีที่ร่วมสมัยของพระเจ้าหลวงเมืองฝางคือพระเกสรปรมัตถาจารย์(ครูบาเก๋) นำประดิษฐานวัดพระบาทอุดม พร้อมทั้งพระครูบากันธาธรรมะปุจฉาจารย์(ครูบากันธา)เพื่อนำไปประดิษฐานยังวัดห้วยบอนวัดเดิมที่ท่านเคยปฏิบัติธรรมอยุ่เพื่อความเป็นศิริมงคลกับผู้ศรัทธาต่อไป
นายสำราญ แสงสงค์ รายงาน