เชียงใหม่- คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดเสวนา แนวทางป้องกันฝุ่น PM2.5 ในสถานที่ทำงาน
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มช. รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เป็นประธานเปิดการเสวนา แนวทางป้องกันฝุ่น PM2.5 เพื่อให้ความรู้และเป็นแนวทางป้องกันฝุ่น PM2.5 ในสถานที่ทำงาน
รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็น ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพ ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับ PM2.5 จึงได้จัดกิจกรรมเสวนา “แนวทางป้องกันฝุ่น PM2.5 ในสถานที่ทำงาน” เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรและประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่น PM2. ซึ่งปัญหา มลพิษทางอากาศที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง การป้องกันและลดผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 จำเป็นเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการลดมลพิษเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนทุกคน”
ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ และในครั้งนี้ได้จัดกิจกรรมเสวนาแนวทางป้องกันฝุ่นPM2.5 ในเชิงการจัดการทางกายภาพ และแนวทางการปฏิบัติเชิงพฤติกรรม ที่สามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ทั้งในสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากฝุ่น PM2.5
โดยมีหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
1. ด้านกายภาพ (กั้น กรอง ดัน) กั้น : ปิดประตูหน้าต่างที่สนิท ชื่อตามขอบหน้าต่าง หรือรูรั่วอื่น ๆ ให้ชิด และเปิดระบาย อากาศบ้าง ช่วงที่ฝุ่นภายนอกน้อย กรอง : ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เปิดเครื่องพ่อกอากาศ และปิดพัดลมดูดอากาศ(ถ้ามี) ดัน : ติดตั้งเครื่องเติมอากาศสะอาด สร้างแรงดันอากาศภายในห้องให้มากว่าภายนอก เพื่อ
ดันฝุ่นไม่ให้เข้ามาในห้อง
2.พฤติกรรม (3ส 1 ล)
ส.สะสาง คัดแยกสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือไม่ใช้แล้วออกไปเพราะจะเป็นแหล่งสะสมฝุ่น ส.สะอาด ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ และเช็ดถูทำความสะอาดพื้นและตามซอกมุมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น รวมทั้งล้างอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น
พัดลม เครื่องปรับอากาศ แผ่นกรองอากาศและมุ้งลวด
สร้าง สร้างสุขนิสัย ในการดูแลและทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะมีฝุ่นละอองสูง อาจจะต้องเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดมากขึ้น รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยปลูกต้นไม้ที่มีลักษณะใบหนา หยาบ มีขน เพื่อช่วยดักฝุ่น ลดหรือเลี่ยง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละองเพิ่ม เช่น การจุดธูป-เทียน การเผาขยะ การจุดเตาถ่าน และการสูบบุหรี่
ผศ.นพ.ธวัชชัย มั่นอ่ำ รองคณบดีด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า”จากข้อมูลที่ผ่านมา พบว่าคนเชียงใหม่ต้องเผชิญกับฝุ่น PM2.5 เป็นระยะเวลานานเกือบครึ่งปี (ประมาณ กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ นอกจากนี้ สถิติยังบ่งชี้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การป้องกันฝุ่นจึงไม่ควรจำกัดเพียงแค่การสวมใส่หน้ากากหรือหลีกเลี่ยงพื้นที่โล่งแจ้ง แต่ควรรวมถึงการจัดการฝันในสถานที่ทำงานด้วย ซึ่งการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในสถานที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากร การติดตามคุณภาพอากาศ ปรับปรุงระบบระบายอากาศสวมหน้ากากที่เหมาะสม และดูแลสุขภาพของพนักงาน เป็นมาตรการที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
กิจกรรมในครั้งนี้มีการบรรยายใน 6 หัวข้อหลัก ได้แก่ สถิติคุณภาพอากาศตัวเมืองเชียงใหม่ ป้องกันฝุ่น PM2.5 ในสถานที่ทำงานอย่างไร การเลือกขนาดเครื่องฟอกอากาศ การเฝ้าระวังและติดตาม การปรับปรุงด้าน PM2.5 คณะแพทยศาสตร์ การติดตั้งแผ่นกรองฝุ่น เครื่องปรับอากาศ และพัดลม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คือ รศ.ดร.ยศธนา คุณาทร อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. , ผู้แทนพิเศษ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. , ผศ.นพ.ธวัชชัย มั่นอ่ำ รองคณบดีด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
คณะแพทยศาสตร์ มช. , คุณวิชชากร จามีกร หัวหน้าศูนย์บริหารจัดการระบบสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์
มช. และคุณณัฐพล ไชยแก้ว วิศวกร สังกัดงานอาคารสถานที่ บรรยายใน 6 หัวข้อในการเตรียมความพร้อม
และเสริมความรู้แก่บุคลากร ให้ทราบถึงแนวทางในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใช้ใน
หน่วยงานช่วงที่เกิดภาวะฝุ่น PM2.5 เพื่อลดดผลกระทบด้านสุขภาพของบุคลากรและผู้ที่มารับบริการของคณะ
แพทยศาสตร์ มช.