ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และผู้ว่าราชการ

admin2

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร รับรางวัลสำเภาทอง ประจำปี 2565
27 พ.ย.65 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบรางวัล “สำเภาทอง” ประจำปี 2565 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับรางวัล จำนวน 26 คน อาทิ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุบลราชธานี สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีสมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นาสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งหอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมอบรางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งภาคเอกชนเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อความร่วมมือระหว่างกัน ในการบูรณาการและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ให้เกิดกำรสร้างงานสร้างรายได้ กับชุมชน จนเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ GPP ของจังหวัด และ GDP ของประเทศ เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับรางวัลผู้ว่าราชการจังหวัดสำเภาทอง เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็น เกียรติยศของกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัด อันเป็นสัญลักษณ์ แสดงถึงสัมพันธภาพและมิตรภาพอันดีระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมมือร่วมใจกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในทุกระดับพื้นที่อย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศของเราสามารถฟันฝ่าอุปสรรครวมทั้ง แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งหลายมาได้ โดยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน โดยส่วนหนึ่งของความสำเร็จเกิดจากการขับเคลื่อนโดยผ่านกลไกของ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนำและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในพื้นที่ นอกจากการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชนในพื้นที่ ได้มีการกินดีอยู่ดี ครอบครัวมีความสุขอย่างพอเพียงแล้ว ยังเป็นรากฐานที่สำคัญ ในการแก้ไขปัญหาทางสังคมและปัญหาทางด้านความมั่นคงของประเทศซึ่งก็เป็น ภารกิจอันดับแรกในความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหำของกระทรวงมหาดไทยเช่นกัน โดยในปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการประกาศทำสงครามกับยำเสพติด ด้วยหลักคิด Change for Good และหลักการทำงานเชิงรุก โดยใช้หลักการกลไก 3 5 7 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคีเครือข่าย) มาเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการในการขับเคลื่อน ปฏิบัติการขจัดยำเสพติดให้สิ้นซากอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการป้องปรามและ ด้านกานบำบัดฟื้นฟูอย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทย และประเทศชาติหลุดพ้นจากวงจรยาเสพติดอันเป็นพิษร้ายทำลายเศรษฐกิจและ โครงสร้างสังคม และร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่สังคมไทยที่ปลอดยาเสพติดอย่างแท้จริง

Next Post

อำเภอเบตงจัดกิจกรรมโครงการ ศุกร์ สู่ สันติสุข ภาย

อำเภอเบตงจัดกิจกรรมโครงการ ศุกร์ สู่ สันติสุข ภาย […]

You May Like

ข่าวภูธร