กธอ-ฟ. ให้สัมภาษณ์ทีมงานถ่ายทำรายการ สวท.อุบลราชธานี ในหัวข้อ การใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภารกิจของ กฟผ.เขื่อนสิรินธร วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 นายอาทิตย์ พรคุณา หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร (กธอ-ฟ.) ให้สัมภาษณ์ทีมงานถ่ายทำรายการนอกสถานที่ โดยคุณทัชวรรณ พรเจริญ และรายการผลิตสกู๊ปข่าว โดยคุณกรกช ภูมี ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.อุบลราชธานี (สวท.อุบลราชธานี) และเว็บเพจ สวท.อุบลราชธานี ในประเด็นหัวข้อ การใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภารกิจของ กฟผ.เขื่อนสิรินธร ได้แก่ รถไฟฟ้า EV บัส , รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า “ชลพัฒน์ 2” (EV Boat) เพื่อร่วมผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยขณะนี้ กฟผ. มีการผลักดันให้คนไทยได้มีโอกาสใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยมลพิษ ด้วยประสบการณ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นทางเลือกใหม่ของผู้เดินทาง ภายใต้ธุรกิจใหม่ของ กฟผ. “EGAT EV Business Solutions” โดยได้เปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ที่มุ่งสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยความรวดเร็วในการชาร์จไฟแบบ DC Fast Charge ที่สามารถจ่ายไฟได้ถึง 120 kW ภายในเวลาชเพียง 30 นาที และยังมีการชาร์จแบบ AC Normal Charge ที่สามารถชาร์จและรองรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วยความปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการผ่านการใช้เครื่องชาร์จคุณภาพสูง ได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ตลอดการเดินทาง โดยเปิดให้บริการสถานี EleX by EGAT พร้อมสถานีพันธมิตรในเครือข่าย EleXA แล้วจำนวน 49 สถานีทั่วประเทศ
โดยทั้งนี้ ได้นำยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้ง 3 ประเภท นำมาใช้ในการสนับสนุนภารกิจของ กฟผ.เขื่อนสิรินธร ซึ่งมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการติดตั้งสถานีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ด้วย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานนวัตกรรมพลังงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของ กฟผ. ที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Carbon Neutrality อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากเขื่อนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นการผลิตไฟฟ้าแบบ Hybrid สามารถผลิตไฟฟ้าจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน และพลังน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่เดิมมาผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแสงแดด หรือเสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงค่ำ ช่วยเพิ่มเสถียรภาพพลังงานหมุนเวียน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยมีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนผ่านการท่องเที่ยวรอบพื้นที่นี้อีกด้วย ณ เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี